ไตเสื่อม ไตวาย ดูแลอย่างไร เพื่อยับยั้ง ชะลอ ติดเบรก ไม่ให้ไตทรุด

Last updated: 17 ก.ค. 2563  |  3405 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ไตเสื่อม ไตวาย ดูแลอย่างไร เพื่อยับยั้ง ชะลอ ติดเบรก ไม่ให้ไตทรุด

ภาวะการเสื่อมของร่างกายสามารถเกิดขึ้นได้ เพราะว่า ร่างกายหรืออวัยวะต่างๆในร่างกาย ก็ล้วนมีอายุไขสามารถเสื่อมได้ เมื่อมีอายุที่มากขึ้น การใช้งานที่นานขึ้น หรือ มีปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดความเสียหาย


ซึ่งไต ก็จัดว่า เป็นหนึ่งในอวัยวะที่คนไทยกำลังเผชิญปัญหาสุขภาพอย่างมากมาย โดยข้อมูลจากการศึกษาจากสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย พบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง ประมาณ 8 ล้านคน ซึ่งเกือบกว่า 100,000 คน เป็นไตวายระยะสุดท้าย และมีแนวโน้มมากขึ้นเป็นทุกๆปี


ปัจจุบันการศึกษาวิจัยพบว่า มีสารอาหารที่มีคุณสมบัติในการยับยั้ง และ ชะลอความเสื่อมของไต รวมทั้งช่วยในการฟื้นฟูเซลล์ไตได้อย่างมีประสิทธิภาพ


จากรูปภาพด้านบน พบว่า สารเรสเวราทรอล สามารถยับยั้งกลไกต่างๆที่ทำให้ไตเสื่อมหรือไตวาย รวมทั้งช่วยฟื้นฟูได้ด้วย เช่น

  • ไตเสื่อมจากการกินยาเคมี
  • ไตเสื่อมจากหลอดเลือดไตตีบ
  • ไตเสื่อมจากโรคเบาหวาน
  • ไตเสื่อมจากอายุที่มากขึ้น
  • ไตเสื่อมจากการติดเชื้อ เป็นต้น

ดังนั้น ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับไต หรือ มีความเสี่ยง เช่น ชอบรับประทานอาหารรสเค็ม อาหารแปรรูปใส่สารกันบูด ขนมขบเคี้ยวตามร้านสะดวกซื้อ ชอบอาหารรสหวานๆ ดื่มน้ำอัดลมทีละเป็นขวดๆ และ เด็กๆที่ชอบทานขนมขบเคี้ยว รสชาติเค็มๆ มันๆ หวาน ๆ ที่ขายตามร้านสะดวกซื้อ 


รู้ไหมครับ... ปัจจุบัน! เด็กเหล่านี้ ป่วยด้วยโรคไตวายตั้งแต่เด็กมากยิ่งขึ้นครับ และต้องฟอกไต สุดท้ายอายุสั้น ตายไวครับ


หรือแม้แต่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ ที่ต้องรับประทานยาเคมีต่อเนื่องเป็นปีๆ เช่น ผู้ป่วยที่กินยาแก้ปวด/แก้อักเสบ เพราะยาเหล่านี้ทำให้ไตเสื่อม ผู้ป่วยโรคเก๊าฑ์ที่กินยาลดกรดยูริก เพราะยาเหล่านี้ทำให้ไตเสื่อม เป็นต้น

ซึ่งผู้ที่มีความเสี่ยง หรือ ไตเสื่อมเหล่านี้ ควรได้รับสารอาหารเข้าไปช่วยชะลอ ยับยั้ง หรือ ฟื้นฟูไตของตัวเองด้วย 


เพราะไตก็เหมือนกับทุกอวัยวะที่ต้องการสารอาหารที่มีประโยชน์และมีฤทธิ์ทางยาที่จะเข้าไปช่วยให้ไตทำงานได้อย่างสมบูรณ์หรือแข้งแรงให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ นั่นเอง


และไม่ต้องกังวลว่า การทานสารอาหารเหล่านี้แล้ว จะทำให้ไตทำงานหนัก เพราะเป็นความเชื่อที่ผิดๆ 

ถ้าไตจะทำงานหนัก ก็หนักเพราะกินยาเคมีสะสมมาเรื่อยๆ ไม่ใช่เกิดจากการรับประทานอาหารหรือสารอาหารในปริมาณที่แนะนำ 


ฉะนั้น ไตเสื่อม จึงเป็นสิ่งที่สามารถป้องกัน หรือ ฟื้นฟูได้ ถ้าเราเข้าใจ

ไตเสื่อมกว่า 10 ล้านคน และมากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าคุณไม่อยากเป็นหนึ่งในนั้น การป้องกัน สำคัญและดีกว่าการรักษาครับ เพราะการรักษาและฟอกไต ไม่เคยทำให้ไตใครกลับมาปกติอีกเลย


บทความจาก More Science Less Marketing ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้